วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์งบ ประมาณ 10,000 บาท

INTEL 775 CELERON E3300 2.5 GHz 1,620 บาท

ASROCK G31M-S 1,290 บาทKINGSTON-1 GB DDRII-800 960 บาท

Samsung 500GB HDD 502IJ (16MB) (7200 RPM) 2,010 บาท

HP W17q (GA028AA) 3,390 บาท

Mouse 100 บาทKeyboard 120 บาท

Case+PowerSupply 500 บาท

รวม 9,990 บาท


อ้างอิงจาก ร้านอะตอม

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นโยบาย 3D

แผนยุทธศาสตร์
ตามนโยบายสถานศึกษา 3 ดี (3D)








กรอบแนวคิด



การจัดการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน กระบวนการจัดการศึกษาที่
สมบูรณ์จึงเปรียบเสมือนเหรียญสองด้านคือ ด้านหนึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนา
ผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาแต่ละช่วงชั้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนมี
ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ มีทักษะการดำรงชีวิตที่เกิดจากการฝึกหัด สามารถใช้ความรู้ให้
เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพ อีกด้านหนึ่งคือเป็นการบ่มเพาะ กล่อมเกลา ปลูกฝัง
และปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และ
สิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ขึ้นในจิตใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคม
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด และหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ส่งเสริม
สนับสนุนและร่วมจัดการศึกษา จึงมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม โดยการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมที่
มุ่งเน้นภารกิจทั้ง 3 ด้าน (3D) ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย (Democracy) ด้านคุณธรรมจริยธรรม และ
ความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug - Free)
















คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

1. ด้านประชาธิปไตย (Democracy) มีความตระหนัก เห็นความสำคัญ ศรัทธา และเชื่อมั่น การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งรังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง

2. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย (Decency) มีคุณธรรม จริยธรรม ความดีงาม รู้ผิดชอบชั่วดี มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และยึดถือปฏิบัติอยู่ในวิถีชีวิต

3. ด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug - Free) รู้จักหลีกเลี่ยงห่างไกลยาเสพติด

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างมีคุณภาพและมาตรฐานตามนโยบาย 3 ดี ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด

2. สถานศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานระดับ 3 ดี ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด

วิสัยทัศน์

มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ดี 3 ด้าน คือ ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรมจริยธรรมและ ความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างมีคุณภาพและมาตรฐานตามนโยบาย 3 ดี ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด

2. สถานศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานระดับ 3 ดี ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด

กลยุทธ์

1. เร่งรัดพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนทุกระดับ
2. จัดการเรียนรู้ ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกัน ภัยจากยาเสพติด ในระบบการศึกษา
3. พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีองค์ความรู้และทักษะการจัดกิจกรรมที่มี คุณภาพ
4. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อเพื่อการเรียนรู้
5. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3 ดี

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง




เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น
ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจาก
องค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้


• กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา

• คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

• คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
• เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

สู่ความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน ทั้ง 4

มิติมิติด้านเศรษฐกิจ

โรงเรียนและครอบครัวนักเรียนมีแนวทางและปฏิบัติตนในการประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำประหยัดไฟ และประหยัดเชื้อเพลิง สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเชื้อเพลิงยานพาหนะในโรงเรียนครอบครัวและชุมชนได้ และมีเงินเหลือเก็บจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

มิติด้านสังคม

โรงเรียน ครอบครัวและชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สังคมมีความรักใคร่สามัคคี

มิติด้านสิ่งแวดล้อม

การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ก่อเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น พลังงานน้ำ พลังงานไฟฟ้า พลังงานเชื้อเพลิงส่งผลทำให้มีการผลิตพลังงานที่น้อยลง มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานลดลง รวมถึงช่วยลดการเกิดภาวะโลกร้อนเนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างฟุ่มเฟือย เช่น เชื้อเพลิงจากท่อไอเสีย ยานพาหนะที่ปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน ที่เป็นสาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน

มิติด้านวัฒนธรรม

เกิดค่านิยมการประหยัด เห็นคุณค่าพลังงาน รู้รักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ก่อเกิดวัฒนธรรมค่านิยมการใช้และอนุรักษ์พลังงานที่ดีงาม

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 3 ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 4 ส่วนประกอบแผงวงจรหลัก

หน่วยที่ 5 อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูล

หน่วยที่ 6 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 7 การติดตั้งสายไฟสายสัญญาณ

หน่วยที่ 8 ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผล

หน่วยที 9 การจัดการฮาร์ดดิสก์

หน่วยที่ 10 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

หน่วยที่ 11 การติดตั้งไดร์เวอร์

หน่วยที่ 12 รักษาความสะอาดคอมพิวเตอร์